css slider by cssSlider.com v2.1

รับฟังผ่านแอพวิทยุวัดนาป่าพง


สถานี:
บิตเรต:   จำนวนผู้ฟัง:
ท่านกำลังฟัง: - -
Winamp, iTunes Windows Media Player Real Player QuickTime


สถานี:
บิตเรต:   จำนวนผู้ฟัง:
ท่านกำลังฟัง: - -
Winamp, iTunes Windows Media Player Real Player QuickTime


สถานี:
บิตเรต:   จำนวนผู้ฟัง:
ท่านกำลังฟัง: - -
Winamp, iTunes Windows Media Player Real Player QuickTime


สถานี:
บิตเรต:   จำนวนผู้ฟัง:
ท่านกำลังฟัง: - -
Winamp, iTunes Windows Media Player Real Player QuickTime


Station:
Bitrate:   Listeners:
The sutta name: - -
Winamp, iTunes Windows Media Player Real Player QuickTime

News
  • พระสูตร: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ปฐมเทศนา
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

    การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

    การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑
    เจรจาชอบ ๑
    การงานชอบ ๑
    เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    พยายามชอบ ๑
    ระลึกชอบ ๑
    ตั้งจิตชอบ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

    [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ
    ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์
    ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์
    ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
    ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
    ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
    โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ
    ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
    กามตัณหา
    ภวตัณหา
    วิภวตัณหา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ
    วิราคะ
    สละ
    สละคืน
    ปล่อยไป
    ไม่พัวพัน.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ปัญญาเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑
    เจรจาชอบ ๑
    การงานชอบ ๑
    เลี้ยงชีวิตชอบ ๑
    พยายามชอบ ๑
    ระลึกชอบ ๑
    ตั้งจิตชอบ ๑

    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

    ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้หมดจดดีแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระโกณฑัญญะว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

    [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว
    เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า
    นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

    เทวดาชั้นจาตุมหาราช
    ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

    เทวดาชั้นดาวดึงส์
    ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

    เทวดาชั้นยามา
    ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

    เทวดาชั้นดุสิต
    ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นยามาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

    เทวดาชั้นนิมมานรดี
    ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นดุสิตแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

    เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี
    ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.

    เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
    ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว
    ก็บันลือเสียงต่อไปว่า

    นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.

    ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.

    ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ

    ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

    พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๔
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
    หน้าที่ ๑๕/๓๐๔ ข้อที่ ๑๓

    อ่านต่อ...
  • 12/1/61อัพโหลดการแสดงธรรม ต.ค.-ธ.ค.60

    อัพโหลด mp3 การแสดงธรรม โดย พอจ.คึกฤทธิ์ ของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - ธันวาคม พ.ศ. 2560

     

    โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 ดังกล่าวที่วิทยุสถานี 2 และ 4

     

    ทีมวิทยุฯ

    12/1/61

    อ่านต่อ...
  • 1/1/61อัพโหลดเสียงอ่านอินทรียสังวร/ปฐมธรรม ภิกขุเอเอ

    อัพโหลด mp3 เสียงอ่านหนังสือ อินทรียสังวร และปฐมธรรม อ่านโดยภิกขุเอเอ

     

    โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 ดังกล่าวที่วิทยุสถานี 1 2 และ 3

     

    ทีมวิทยุฯ

    1/1/61

    อ่านต่อ...
  • 7/11/60Uploaded the Control of the Sense Faculties audiobook

    The Buddhawajana Control of the Sense Faculties audiobook which read by Mr.Tonkla was uploaded.

    You can listen to this audiobook on the radio station 5 and emergency radio station 2.

    Radio staff
    7/11/60

    อ่านต่อ...
  • 7/11/60อัพโหลดmp3สังกัปปะราคะ

    อัพโหลด mp3 สังกัปปะราคะ


    โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 ดังกล่าวได้ที่วิทยุสถานีที่ 1 2 และ 4

     

    ทีมวิทยุฯ

    7/11/60

     

    อ่านต่อ...
  • ปรับปรุงServerวิทยุวัดนาป่าพง 13-10-60 ช่วง 15.50 น.

    ทางทีมวิทยุฯ ขอแจ้งว่าจะทำการปิดปรับปรุง server วิทยุวัดนาป่าพง ในวันที่ 13/10/60 เวลา 15.50 น. ถึง 16.10 น. เพื่อทำการปรับปรุงระบบ

     

    ขออภัยในความไม่สะดวก

     

    ทีมวิทยุฯ

     

    อ่านต่อ...
  • อัพโหลดmp3แสดงธรรมโดย พอจ.คึกฤทธิ์ ก.ค.-ก.ย.ปี60

    อัพโหลด mp3 การแสดงธรรมในเดือน ก.ค.-ก.ย. ปี 60 โดย พอจ. คึกฤทธิ์ โสตถิผโล

     

    โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 การสนทนาธรรมดังกล่าวที่วิทยุสถานี 4

     

    ทีมวิทยุฯ

    10/10/60

    อ่านต่อ...
  • รับฟังถ่ายทอดสดงานรักศรัทธาตถาคต

    ท่านสามารถรับฟังการถ่ายทอดสดงานรัก ศรัทธา ตถาคต 2560 ที่วิทยุสถานี 1 ในวันที่ 8 พ.ค. 60 ตั้งแต่เวลา 10.30 น. โดยประมาณ

     

    ทีมวิทยุฯ

    อ่านต่อ...
  • อัพโหลดmp3สนทนาธรรมโดย พอจ.คึกฤทธิ์ ปี59

    อัพโหลด mp3 การสนทนาธรรม ณ วัดนาป่าพง โดย พอจ. คึกฤทธิ์ ของปี พ.ศ. 2559

     

    โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 การสนทนาธรรมดังกล่าวที่วิทยุสถานี 4

     

    ทีมวิทยุฯ

    25/12/59

    อ่านต่อ...
  • 20/11/59 ฟังวิทยุวัดนาป่าพงได้ตามปกติทุกสถานี

    ท่านสามารถรับฟังวิทยุวัดนาป่าพงได้ตามปกติทุกสถานีตั้งแต่วันที่ 20/11/59

     

    ทีมวิทยุวัดนาป่าพง

    15/11/59

     

    หมายเหตุ หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นจากทางคณะสงฆ์วัดนาป่าพงทางทีมวิทยุฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: ปฏิปทา 4 ทั้ง 2 แบบ

    แบบที่ 1

    ๒. วิตถารสูตร  ว่าด้วยปฏิปทา 

          [๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ปฏิปทา ๔  นี้   ฯลฯ  คือ ทุกฺขา  ปฏิปทา  ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก  ทั้งรู้ได้ช้า  ทุกฺขา  ปฏิปทา  ขิปปาภิญฺญา  ปฏิบัติลำบาก  แต่รู้ได้เร็ว สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

    ปฏิบัติลำบาก  ทั้งรู้ได้ช้าเป็นไฉน ?

         บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า   ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆบ้าง    โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้าได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆบ้าง   โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า  ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิด  เพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง  อินทรีย์   ๕ คือ  สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา ของเขาก็อ่อน เพราะอินทรีย์  ๕  นี้อ่อนเขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า  นี้เรียกว่า  ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า 

    ปฏิบัติลำบาก  แต่รู้ได้เร็วเป็นไฉน  ?   

         บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า  ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆ บ้าง  โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้าได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆ บ้าง   โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า  ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะเนือง ๆ  บ้าง แต่อินทรีย์  ๕  คือ  สัทธา  วิริยะ   สติ  สมาธิ   ปัญญา  ของเขาแก่กล้า   เพราะอินทรีย์ ๕ นี้ แก่กล้า  เขาย่อมบรรลุอนันต-ริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่าปฏิบัติลำบาก  แต่รู้ได้เร็ว

    ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้าเป็นไฉน ?

         บุคคลบางคนโดยปกติ  มิใช่  เป็นคนมีราคะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะ  มิใช่เป็นคนมีโทสะกล้า  มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะ อนึ่ง โดยปกติมิใช่เป็นคนมีโมหะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะ แต่อินทรีย์ ๕ คือ  สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ ปัญญา  ของเขาอ่อน  เพราะอินทรีย์  ๕ นี้อ่อนเขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติ สะดวก แต่รู้ได้ช้า

    ปฏิบัติสะดวก  ทั้งรู้ได้เร็วเป็นไฉน ?

         บุคคลบางคนโดยปกติ มิใช่เป็นคนมีราคะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะ  โดยปกติมิใช่เป็นคนมีโทสะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะ  อนึ่ง  โดยปกติมิใช่เป็นคนมีโมหะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะ ทั้งอินทรีย์๕  คือ   สัทธา  วิริยะ  สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า   เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่าปฏิบัติสะดวก ทั้งได้รู้เร็ว ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา  ๔.

    จบวิตถารสูตรที่ 

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 2 - หน้าที่ 386

    ---------------------------------

    แบบที่ 2

    แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า

         ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดีเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละโอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.

     

    แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว

         ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดีเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิรยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว : ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว

     

    แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า

         ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียดดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า : ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.

     

    แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว

         ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว : ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: อนัตตลักขณสูตร

    ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

                 [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น

    อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล

    พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ

    ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า

    รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

                 เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง

    เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ

    เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง

    เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา

    ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

                 สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง

    เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา

    อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป

    เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา

    อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

                 สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว

    สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ

    เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ

    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้

    ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้

    เป็นอย่างนั้นเลย.

                 วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้

    ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด

    วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น

    วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด

    วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

    ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

                 [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

    รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

                 พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

                 ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

                 ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

                 ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

                 ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

                 ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

                 ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

                 ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น

    ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

                 ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

                 ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

                 ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

                 ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

                 ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

                 ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

                 ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง

    นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

                 ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

    ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

                 [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด

    อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ

    ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ

    ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

                 เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก

    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย

    พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา

    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

                 สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ

    หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง

    เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น

    ไม่ใช่ตนของเรา.

                 สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก

    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย

    พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา

    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

                 วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก

    หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย

    พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา

    นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

                 [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้

    ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร

    ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น

    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว

    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

                 [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน

    ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์

    พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

    อนัตตลักขณสูตร จบ

                 ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.

    ปฐมภาณวาร จบ

     

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  บรรทัดที่ ๔๗๙ - ๕๗๕.  หน้าที่  ๒๐ - ๒๔. 

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: มิตรแท้ มิตรเทียม

    มิตรเทียม


    [๑๘๖] ดูกรคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
    -
    คนนำสิ่งของๆ เพื่อนไปถ่ายเดียว [คนปอกลอก] ๑ 
    คนดีแต่พูด ๑ 
    คนหัวประจบ ๑ 
    คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑ 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ฯ
    -
    [๑๘๗] ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียม
    มิตรโดยสถาน ๔ คือ 
    -
    เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑ 
    เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑ 
    ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ 
    คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตรคนปอกลอก 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตร 
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    [๑๘๘] ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
    โดยสถาน ๔ คือ 
    เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑ 
    อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑
    สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ 
    เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง [ออกปากพึ่งมิได้] ๑
    ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    [๑๘๙] ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียม
    มิตรโดยสถาน ๔ คือ 
    ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว [จะทำชั่วก็คล้อยตาม] ๑ 
    ตามใจเพื่อนให้ทำความดี [จะทำดีก็คล้อยตาม] ๑ 
    ต่อหน้าสรรเสริญ ๑
    ลับหลังนินทา ๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตรคนหัวประจบ 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    [๑๙๐] ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
    โดยสถาน ๔ คือ 
    ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย 
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ 
    ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑ 
    ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ๑ 
    ชักชวนให้เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย 
    ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตร
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา 
    ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว 
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
    ต่อไปอีกว่า
    [๑๙๑] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
    มิตรปอกลอก ๑ 
    มิตรดีแต่พูด ๑
    มิตรหัวประจบ ๑ 
    มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑ 
    ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว
    พึงเว้นเสียให้ห่างไกล 
    เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ

    --------------------------------------

    มิตรแท้


    [๑๙๒] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
    มิตรมีอุปการะ ๑ 
    มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ 
    มิตรแนะประโยชน์ ๑ 
    มิตรมีความรักใคร่ ๑ 
    ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี [เป็นมิตรแท้] ฯ
    -
    [๑๙๓] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ 
    ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ
    รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ 
    รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ 
    เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ 
    เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า 
    [เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก] ๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ 
    ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    [๑๙๔] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ 
    ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔
    คือ บอกความลับ [ของตน] แก่เพื่อน ๑ 
    ปิดความลับของเพื่อน ๑ 
    ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑
    แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    [๑๙๕] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ 
    ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ 
    ห้ามจากความชั่ว ๑ 
    ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ 
    ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ 
    บอกทางสวรรค์ให้๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    [๑๙๖] ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ 
    ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ 
    ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ 
    ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ๑ 
    ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ 
    สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ 
    ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
    โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ
    -
    พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว 
    จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
    ต่อไปอีกว่า
    [๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ 
    มิตรมีอุปการะ ๑ 
    มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ 
    มิตรแนะประโยชน์ ๑ 
    มิตรมีความรักใคร่ ๑ 
    ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว 
    พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น 
    บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล 
    ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ
    เมื่อบุคคลออมโภคสมบัติอยู่เหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง 
    โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น 
    คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ 
    ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว 
    พึงแบ่งโภคสมบัติออกเป็นสี่ส่วน 
    เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้ พึงใช้สอยโภค
    สมบัติด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน 
    พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย 
    หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ
    -------------------------------------
    พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑
    สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    หน้าที่ ๑๔๒ ข้อที่ ๑๘๖ - ๑๘๗

    เครดิต: ตะวัน พุทธวจน Google+

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร

    " ...ก็ทุกข์นี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยอุปธิทั้งปวง ความเกิด
    แห่งทุกข์ย่อมไม่มี เพราะความสิ้นอุปาทานทั้งปวง..."

     

    พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) อุ. ขุ. ๒๕/๘๗/๘๔.

     

    เครดิต: Dhammavinaya facebook

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร

    ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
    พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
    พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ...

    พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง)
    สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๑/๓๖๗.

     

    เครดิต: Dhammavinaya facebook

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: เจริญอานาปานสติแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือถือว่าไม่เหินห่างจากฌาน

    ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
    ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
    ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
    ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า.


    เอก. อํ. ๒๐/๕๔ - ๕๕/๒๒๔.

     

    เครดิต: อินทรีย์ภูเขา Ok Nation Blog

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: ทำสมาธิอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง

    ภิกษุทั้งหลาย ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ
    เป็นผู้ควรเพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้
    หรือเพื่อทำผลกำไรที่ได้รับอยู่แล้ว ให้งอกงามออกไป.
    ๓ ประการ อย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ๓ ประการ คือ :-


    ชาวร้านตลาด ในกรณีนี้
    ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า
    ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลากลางวัน
    ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเย็น.


    ภิกษุทั้งหลาย ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการเหล่านี้แล
    เป็นผู้ควรเพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้
    หรือเพื่อทำผลกำไรที่ได้รับอยู่แล้ว ให้งอกงามออกไปนี้ฉันใด.


    ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ
    หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้ว ให้งอกงามยิ่งขึ้นไป.
    ๓ ประการ อย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ๓ ประการ คือ :-


    ภิกษุในกรณีนี้
    ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อในเวลาเช้า
    ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อในเวลากลางวัน
    ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อในเวลาเย็น.


    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล
    ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ
    หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้ว ให้งอกงามยิ่งขึ้นไป.
    ติก. อํ. ๒๐/๑๔๕/๔๕๘.

    เครดิต: ตถาคต ภาษิต Google+

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: การดำรงชีพชอบ

    การดำรงชีพชอบ โดยหลักแห่ง มหาปุริสวิตก ๘ ประการหรือการดำรงชีพชอบของพระอริยเจ้า

    ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ! ดีละ ที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า :-

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีความปรารถนาน้อย , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้สันโดษ , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้สงบสงัด , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้ปรารภความเพียร , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีสติอันหลงลืม

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีจิตตั้งมั่น , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีปัญญา , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้

    อนุรุทธะ ! แต่เธอ ควรจะตรึก " มหาปุริสวิตก " ข้อที่ ๘ นี้ด้วยว่า :-

    ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า* ผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้า ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า ดังนี้.

    - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๓๓-๒๓๕/๑๒๐.

     

    เครดิต: พุทธวจน-เชียงราย

    อ่านต่อ...
  • พระสูตร: อาหารของอวิชชา วิชชา และวิมุตติ

    อาหารของอวิชชา

    ภิกษุทั้งหลาย ! ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ,
    ก่อนแต่นี้อวิชชา มิได้มี, แต่ว่าอวิชชา เพิ่งมีต่อภายหลัง.

    อวิชชา ย่อมปรากฏ เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย ดังนี้ :

    ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น
    ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่.

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ อวิชชา ?
    คำตอบพึงมีว่า “นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเป็นอาหารของอวิชชา” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ?
    คำตอบพึงมีว่า “ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ?
    คำตอบพึงมีว่า “การไม่สำรวมอินทรีย์” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ การไม่สำรวมอินทรีย ์?
    คำตอบพึงมีว่า “ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ ?
    คำตอบพึงมีว่า “อโยนิโสมนสิการ” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ อโยนิโสมนสิการ ?
    คำตอบพึงมีว่า “ความไม่มีสัทธา” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ ความไม่มีสัทธา ?
    คำตอบพึงมีว่า“การไม่ได้ฟังพระสัทธรรม” ดังนี้...

    ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ การไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ?
    คำตอบพึงมีว่า “การไม่คบสัตบุรุษ” ดังนี้...

    ภิกษุทั้งหลาย! อาหารแห่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
    และสมบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.

    เครดิต: พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ facebook

    ---------------------------------------

    อาหารของวิชชาและวิมุตติ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

    วิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า "โพชฌงค์ ๗"

    แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า "สติปัฏฐาน ๔" 

    แม้สติ ปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า "สุจริต ๓"

    แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น อาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า "การสำรวมอินทรีย์"

    แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า "สติสัมปชัญญะ" 

    แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมป ชัญญะ ควรกล่าวว่า "การทำไว้ในใจโดยแยบคาย"

    แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามี อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า "ศรัทธา" 

    แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า "การฟังสัทธรรม" 

    แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า "การคบสัปบุรุษ" 

     

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ 

    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ 

    การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ 

    ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ 

    การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ 

    สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ 

    การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ 

    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ 

    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ 


    วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ 

    เครดิต: รัตนะ 5 พุทธวจน facebook

    อ่านต่อ...

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง