![]() |
พระสูตร: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน? ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระโกณฑัญญะว่า [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๔ |
![]() |
12/1/61อัพโหลดการแสดงธรรม ต.ค.-ธ.ค.60 อัพโหลด mp3 การแสดงธรรม โดย พอจ.คึกฤทธิ์ ของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - ธันวาคม พ.ศ. 2560
โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 ดังกล่าวที่วิทยุสถานี 2 และ 4
ทีมวิทยุฯ 12/1/61 |
![]() |
1/1/61อัพโหลดเสียงอ่านอินทรียสังวร/ปฐมธรรม ภิกขุเอเอ อัพโหลด mp3 เสียงอ่านหนังสือ อินทรียสังวร และปฐมธรรม อ่านโดยภิกขุเอเอ
โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 ดังกล่าวที่วิทยุสถานี 1 2 และ 3
ทีมวิทยุฯ 1/1/61 |
![]() |
7/11/60Uploaded the Control of the Sense Faculties audiobook The Buddhawajana Control of the Sense Faculties audiobook which read by Mr.Tonkla was uploaded. |
![]() |
7/11/60อัพโหลดmp3สังกัปปะราคะ อัพโหลด mp3 สังกัปปะราคะ
ทีมวิทยุฯ 7/11/60
|
![]() |
ปรับปรุงServerวิทยุวัดนาป่าพง 13-10-60 ช่วง 15.50 น. ทางทีมวิทยุฯ ขอแจ้งว่าจะทำการปิดปรับปรุง server วิทยุวัดนาป่าพง ในวันที่ 13/10/60 เวลา 15.50 น. ถึง 16.10 น. เพื่อทำการปรับปรุงระบบ
ขออภัยในความไม่สะดวก
ทีมวิทยุฯ
|
![]() |
อัพโหลดmp3แสดงธรรมโดย พอจ.คึกฤทธิ์ ก.ค.-ก.ย.ปี60 อัพโหลด mp3 การแสดงธรรมในเดือน ก.ค.-ก.ย. ปี 60 โดย พอจ. คึกฤทธิ์ โสตถิผโล
โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 การสนทนาธรรมดังกล่าวที่วิทยุสถานี 4
ทีมวิทยุฯ 10/10/60 |
![]() |
รับฟังถ่ายทอดสดงานรักศรัทธาตถาคต ท่านสามารถรับฟังการถ่ายทอดสดงานรัก ศรัทธา ตถาคต 2560 ที่วิทยุสถานี 1 ในวันที่ 8 พ.ค. 60 ตั้งแต่เวลา 10.30 น. โดยประมาณ
ทีมวิทยุฯ |
![]() |
อัพโหลดmp3สนทนาธรรมโดย พอจ.คึกฤทธิ์ ปี59 อัพโหลด mp3 การสนทนาธรรม ณ วัดนาป่าพง โดย พอจ. คึกฤทธิ์ ของปี พ.ศ. 2559
โดยท่านสามารถรับฟัง mp3 การสนทนาธรรมดังกล่าวที่วิทยุสถานี 4
ทีมวิทยุฯ 25/12/59 |
![]() |
20/11/59 ฟังวิทยุวัดนาป่าพงได้ตามปกติทุกสถานี ท่านสามารถรับฟังวิทยุวัดนาป่าพงได้ตามปกติทุกสถานีตั้งแต่วันที่ 20/11/59
ทีมวิทยุวัดนาป่าพง 15/11/59
หมายเหตุ หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นจากทางคณะสงฆ์วัดนาป่าพงทางทีมวิทยุฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป |
![]() |
พระสูตร: ปฏิปทา 4 ทั้ง 2 แบบ แบบที่ 1 ๒. วิตถารสูตร ว่าด้วยปฏิปทา ๔ ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้าได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิด เพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาก็อ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อนเขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็วเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้าได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง แต่อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ นี้ แก่กล้า เขาย่อมบรรลุอนันต-ริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่าปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติ มิใช่ เป็นคนมีราคะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะ มิใช่เป็นคนมีโทสะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะ อนึ่ง โดยปกติมิใช่เป็นคนมีโมหะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะ แต่อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อนเขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติ สะดวก แต่รู้ได้ช้า ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็วเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติ มิใช่เป็นคนมีราคะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะ โดยปกติมิใช่เป็นคนมีโทสะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะ อนึ่ง โดยปกติมิใช่เป็นคนมีโมหะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะ ทั้งอินทรีย์๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่าปฏิบัติสะดวก ทั้งได้รู้เร็ว ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา ๔. จบวิตถารสูตรที่ ๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 2 - หน้าที่ 386 --------------------------------- แบบที่ 2 แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดีเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละโอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :
แบบปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดีเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิรยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว : ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว
แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียดดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า : ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.
แบบปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้นปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว : ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ. |
![]() |
พระสูตร: อนัตตลักขณสูตร ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย. วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์ [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตนของเรา. สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. อนัตตลักขณสูตร จบ ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์. ปฐมภาณวาร จบ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๔๗๙ - ๕๗๕. หน้าที่ ๒๐ - ๒๔. |
![]() |
พระสูตร: มิตรแท้ มิตรเทียม มิตรเทียม
-------------------------------------- มิตรแท้
เครดิต: ตะวัน พุทธวจน Google+ |
![]() |
พระสูตร " ...ก็ทุกข์นี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยอุปธิทั้งปวง ความเกิด
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) อุ. ขุ. ๒๕/๘๗/๘๔.
เครดิต: Dhammavinaya facebook |
![]() |
พระสูตร ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
เครดิต: Dhammavinaya facebook |
![]() |
พระสูตร: เจริญอานาปานสติแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือถือว่าไม่เหินห่างจากฌาน ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
เครดิต: อินทรีย์ภูเขา Ok Nation Blog |
![]() |
พระสูตร: ทำสมาธิอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ภิกษุทั้งหลาย ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ
เครดิต: ตถาคต ภาษิต Google+ |
![]() |
พระสูตร: การดำรงชีพชอบ การดำรงชีพชอบ โดยหลักแห่ง มหาปุริสวิตก ๘ ประการหรือการดำรงชีพชอบของพระอริยเจ้า ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ! ดีละ ที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า :- ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีความปรารถนาน้อย , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่ ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้สันโดษ , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้สงบสงัด , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่ ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้ปรารภความเพียร , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีสติอันหลงลืม ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีจิตตั้งมั่น , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้มีปัญญา , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้ อนุรุทธะ ! แต่เธอ ควรจะตรึก " มหาปุริสวิตก " ข้อที่ ๘ นี้ด้วยว่า :- ธรรมะนี้ สำหรับ ผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า* ผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า , ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้า ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า ดังนี้. - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๓๓-๒๓๕/๑๒๐.
เครดิต: พุทธวจน-เชียงราย |
![]() |
พระสูตร: อาหารของอวิชชา วิชชา และวิมุตติ อาหารของอวิชชา ภิกษุทั้งหลาย ! ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ, อวิชชา ย่อมปรากฏ เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย ดังนี้ : ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ อวิชชา ? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ การไม่สำรวมอินทรีย ์? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ ความเป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ ? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ อโยนิโสมนสิการ ? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ ความไม่มีสัทธา ? ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของ การไม่ได้ฟังพระสัทธรรม ? ภิกษุทั้งหลาย! อาหารแห่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ เครดิต: พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์ facebook --------------------------------------- อาหารของวิชชาและวิมุตติ
วิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า "โพชฌงค์ ๗" แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า "สติปัฏฐาน ๔" แม้สติ ปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า "สุจริต ๓" แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น อาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า "การสำรวมอินทรีย์" แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า "สติสัมปชัญญะ" แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมป ชัญญะ ควรกล่าวว่า "การทำไว้ในใจโดยแยบคาย" แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามี อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า "ศรัทธา" แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า "การฟังสัทธรรม" แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า "การคบสัปบุรุษ"
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
เครดิต: รัตนะ 5 พุทธวจน facebook |